ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยความมุ่งมั่นในการรับรองความปลอดภัยของคนงานมักจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน คปอ อย่างไรก็ตาม การดำเนินงาน โครงสร้าง และอิทธิพลของคณะกรรมการเหล่านี้อาจแตกต่างกันอย่างมาก โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับระดับประเทศ บรรทัดฐานทางวัฒนธรรม และแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่
ในวันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับบทบาทของ คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน เพื่อให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของความปลอดภัยในแต่ละประเทศมากยิ่งขึ้น
1. อเมริกา
ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา การจัดตั้งและการดำเนินงานของคณะกรรมการความปลอดภัยมักมีรากฐานมาจากกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- สหรัฐอเมริกา: OSHA (องค์กรบริหารด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย) กำหนดแนวทางสำหรับการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนที่มีความเสี่ยงสูง
- แคนาดา: แต่ละเมืองอาจมีข้อบังคับเฉพาะของตน ตัวอย่างเช่น รัฐบริติชโคลัมเบียกำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับสถานที่ทำงานที่มีพนักงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป
2. ยุโรป
ประเทศในยุโรปได้รับอิทธิพลจาก European Agency for Safety and Health at Work (EU-OSHA) ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นอย่างมาก
- เยอรมนี: สภาแรงงานที่ได้รับการคัดเลือกมาจากพนักงานและตัวแทนด้านความปลอดภัยจะทำงานร่วมกันเพื่อจัดการกับความปลอดภัยในที่ทำงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานมีส่วนสำคัญในกระบวนการนี้
- สแกนดิเนเวีย: ประเทศต่างๆ เช่น สวีเดนและเดนมาร์กเน้นแนวทางความร่วมมือ ซึ่งนายจ้าง ลูกจ้าง และสหภาพแรงงานร่วมมือกันในเรื่องความปลอดภัย โดยทุก ๆ กฎระเบียบด้านความปลอดภัยจะผ่านการโหวตและปรับเปลี่ยนจากแรงงานทั้งสิ้น
3. เอเชีย
ประเทศในเอเชียมีแนวทางปฏิบัติที่หลากหลาย โดยได้รับอิทธิพลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วและความแตกต่างทางวัฒนธรรม
- ญี่ปุ่น: ด้วยประเพณี ‘ไคเซ็น’ (แปลว่า การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง) คณะกรรมการความปลอดภัยจึงเป็นส่วนสำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การปรับปรุงความปลอดภัยในสถานที่ทำงานซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในบางองค์กรจะมีการประชุมเกี่ยวกับกฎความปลอดภัยทุกอาทิตย์เลย
- อินเดีย: พระราชบัญญัติโรงงานกำหนดให้จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยในโรงงานที่จ้างคนงานตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป โดยเน้นการประเมินความเสี่ยงและมาตรการป้องกัน หากมีพนักงานต่ำกว่า 500 คนก็จะไม่ต้องใช้มาตรการเหล่านี้
4. ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ทั้งสองประเทศนี้มีความคล้ายคลึงกันตรงที่เน้นการใช้มาตรการเชิงรุกเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับพนักงาน
- ออสเตรเลีย: กฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของออสเตรเลียจะส่งเสริมการปรึกษาหารือระหว่างนายจ้างและคนงาน คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการส่งเสริมการเจรจานี้ โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางและหาทางออกที่ดีที่สุดให้ทุกฝ่าย
- นิวซีแลนด์: กฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเน้น ‘ระบบการมีส่วนร่วมของพนักงาน’ โดยที่คณะกรรมการความปลอดภัยเป็นองค์ประกอบหลัก และเน้นที่การระบุและควบคุมอันตราย
5. แอฟริกา
ด้วยอุตสาหกรรมที่หลากหลายตั้งแต่การขุดเหมืองไปจนถึงการผลิต ประเทศในแอฟริกาจึงตระหนักถึงความสำคัญของคณะกรรมการความปลอดภัยมาก ๆ
- แอฟริกาใต้: กฎหมายด้านสุขภาพและความปลอดภัยเน้นความจำเป็นในการตัดสินใจร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างในภาคส่วนการทำเหมือง โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องใช้ระเบิดในการทำเหมือง
- ไนจีเรีย: กฎหมายเกี่ยวกับโรงงานกำหนดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยมุ่งเน้นที่การฝึกอบรมและการให้ความรู้กับแรงงานทุกคน
6. ละตินอเมริกา
- บราซิล: ประเทศนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า คณะกรรมการภายในเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยเลือกตัวแทนจากพนักงาน และออกแบบมาตรการการป้องกันอุบัติเหตุร่วมกัน
- อาร์เจนตินา: กฎหมายว่าด้วยความเสี่ยงในการทำงานเน้นการป้องกันความเสี่ยงและส่งเสริมการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
สรุป
จะเห็นได้เลยว่าแต่ละประเทศนั้นมีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายอย่างเลย นั่นก็เพราะว่ากฎหมายด้านความปลอดภัยในสมัยก่อนจะเน้นให้ผู้ประกอบการเป็นคนออกแบบเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทุกประเทศก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของพนักงาน และให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกฎเกณฑ์มากยิ่งขึ้น ดังนั้น คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม จึงถือว่าสำคัญมาก ๆ ในด้านความปลอดภัยระดับสากล
หากใครที่สนใจต้องการอบรม คปอ ให้กับหน่วยงานของตนเองสามารถติดต่อสอบถามข้อมูล หรือสมัครอบรม คปอได้ทางเว็บไซต์ หรือโทรสอบถามรายละเอียดกับเราได้ทันทีไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม