ศิลปะ และ หลักการของการพูดอย่างเชี่ยวชาญในฐานะวิทยากร

by admin
13 views

การพูดในที่สาธารณะเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บางคนอาจจะคิดว่าการจะเป็นวิทยากรได้นั้น ขอแค่มีพรสวรรค์ หรือขอแค่พูดให้เป็นก็สามารถทำได้แล้ว แต่ความจริงการเป็นวิทยากรนั้นซับซ้อนกว่านั้นมาก การพูดอย่างเชี่ยวชาญเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทักษาะหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคที่เรียนรู้ ความรู้เชิงลึก การทำความเข้าใจเป้าหมายของตนเอง และทักษะการเชื่อมโยงเนื้อหาอย่างมืออาชีพ ในวันนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจกับวิธีการเป็นวิทยากรอย่างเชี่ยวชาญ พูดยังไงให้สะกดหูคนฟัง

การเล่าเรื่องอย่างมีเสน่ห์

เรื่องราวเป็นสิ่งที่สะท้อนความเป็นมนุษย์มาอย่างนาวนานหลายร้อยปี ตั้งแต่ภาพวาดในถ้ำโบราณไปจนถึงการรับชม Netflix ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าใครก็ชื่นชอบการฟังเรื่องราวทั้งมีประโยชน์หรือเรื่องราวเฮฮา วิทยากรผู้เชี่ยวชาญจะต้องสามารถใช้ประโยชน์จากเรื่องราวเหล่านี้เพื่อสะกดให้ผู้ฟังสามารถเพลิดเพลินไปกับเรื่องราวทุกรูปแบบ

โดยนี่คือเทคนิคที่ควรรู้หากคุณอยากเล่าเรื่องให้สนุกมากยิ่งขึ้น

  • Narrative Arc: ทุกเรื่องราวมีจุดเริ่มต้น ตรงกลาง และจุดสิ้นสุด การพูดควรแนะนำหัวข้อ เจาะลึกรายละเอียด และสรุปด้วยข้อความที่ทรงพลัง เช่น คำคม หรือข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง
  • ความเชื่อมโยง: เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยส่วนบุคคล เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่นิทาน เรื่องแต่ง ก็สามารถใช้เพื่ออธิบายประเด็นที่ซับซ้อนได้ ทำให้เนื้อหาย่อยง่ายและสัมพันธ์กันมากขึ้น

เจาะลึกลงไปในเนื้อหา

สิ่งสำคัญสำหรับการพูดไม่ใช่แค่เรื่องของความรู้หรือประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้เท่านั้น แต่เนื้อหาที่สนุกสนานยังช่วยให้ผู้ฟังสามารถฟังเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างไม่น่าเบื่ออีกด้วย แน่นอนว่าอย่าลืมสอดแทรกความรู้และทำให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์สูงสุด ด้วยเทคนิคเหล่านี้

  • ขับเคลื่อนด้วยงานวิจัย: การอ้างอิงเนื้อหาด้วยงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือจะทำให้การเล่าเรื่องของคุณถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ
  • ทำให้เนื้อหาซับซ้อนน้อยลง: หากคุณต้องการเป็นวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ สิ่งสำคัญคือการย่อยให้เนื้อหาซับซ้อนนั้นมีความง่ายดายมากยิ่งขึ้น ฟังแล้วเข้าใจง่ายแม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านนั้น ๆ คุณอาจจะใช้วิธีการเปรียบเทียบกับสิ่งที่ง่าย ๆ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาของคุณ

จิตวิทยาของการโน้มน้าวใจ

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้นทางจิตวิทยาสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อการรับฟังของผู้ฟัง โดยนี่คือปัจจัยที่สำคัญมาก เพื่อโน้มน้าวใจของผู้ฟัง

  • การแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน: การเสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าข้อมูลที่มีประโยชน์แบบฟรี ๆ จะทำให้ผู้ชมเปิดกว้างมากขึ้น
  • เครื่องยืนยันทางสังคม: ใบรับรอง กรณีศึกษา ข้อความอ้างอิง สามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเนื้อหาของคุณได้
  • การเชื่อมต่อทางอารมณ์: สร้างการเข้าถึงอารมณ์ ถ้าผู้ฟังรู้สึกได้ พวกเขาก็จะจำเนื้อหาของคุณได้ และเพลิดเพลินไปกับเนื้อหาของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้น

ภาษากายและเทคนิคการเปล่งเสียง

การสื่อสารไม่ใช่แค่คำพูดเท่านั้น วิธีที่คุณพูด หรือแม้กระทั่งวิธีการยืน ท่าทางของร่างกาย ก็อาจสร้างอิมแพคต่อเนื้อหาที่คุณพูดได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ

  • ท่าทาง: ยืนสูงและทำตัวให้รู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของเวที ความมั่นใจของคุณจะทำให้เนื้อหาของคุณฟังสนุกมากยิ่งขึ้น
  • การปรับเสียง: ใช้ระดับเสียงและโทนเสียงที่แตกต่างกันเพื่อเน้นประเด็นสำคัญและทำให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วม
  • ท่าทาง: การเน้นท่าทางสามารถใช้ในการเน้นคำพูดได้ แต่ควรระวังการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เพราะอาจจะทำให้เสียสมาธิได้ทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

การมีส่วนร่วมของผู้ชม

วิทยากรที่เป็นมืออาชีพ ไม่เพียงแค่เล่าเรื่องราวให้กับผู้ฟังเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือทำให้ผู้ฟังรู้สึกเหมือนตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนา

  • การฟังอย่างกระตือรือร้น: ในบางครั้ง การหยุดชั่วคราวระหว่างพูดเพื่อวัดปฏิกิริยาของผู้ฟังหรือมีช่วงตอบคำถามระหว่างพูด ก็สามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ฟังได้ได้
  • แบบสำรวจและกิจกรรม: สิ่งเหล่านี้สามารถทำลายความจำเจและทำให้ผู้ฟังอินไปกับเรื่องราวได้
  • รับฟังคำติชม: หลังจากบรรยายจบควรมีช่องทางเพื่อรับคำติชมจากผู้ฟัง เพื่อให้มั่นใจว่าการพูดของคุณนั้นตรงตามความต้องการของผู้ฟัง

You may also like

เกี่ยวกับเรา

แหล่งข้อมูลการฝึกอบรมที่ทันสมัย มุ่งเน้นให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลและแนวทางการเรียนรู้ ได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการค้นหาความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะที่ทันสมัย

เรื่องล่าสุด

@2024- All Right Reserved. Designed and Developed by Thaicompetency