สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควอนตันและรังสี (QST) ของประเทศญี่ปุ่นได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการเปิดตัว JT-60SA ซึ่งเป็นระบบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันที่ใหญ่และล้ำหน้าที่สุดในโลก
JT-60SA เป็นตัวเตาปฏิกรณ์ที่มีรูปแบบโทคาแมก (Tokamak) ที่มีรูปทรงเหมือนโดนัท สูงเท่าตึก 6 ชั้น ซึ่งทำหน้าที่เก็บขดลวดสนามแม่เหล็กเพื่อกักเก็บอนุภาคพลาสมาไว้ โดยเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบรรลุเงื่อนไขของพลาสมาในการเกิดพลังงานฟิวชัน
เว็บไซต์ TechSpot ได้ชี้ชะตาว่า JT-60SA เป็นการพัฒนาที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ฟิวชัน ซึ่งที่เป็นความหวังของการสร้างแหล่งพลังงานที่ปราศจากก๊าซคาร์บอน โครงการนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเตาปฏิกรณ์เทอร์โมนิวเคลียร์ขั้นทดลองระหว่างประเทศ (ITER) ซึ่งเป็นโครงการที่มีสมาชิกจาก 35 ประเทศทั่วโลกร่วมกันสร้างโทคาแมกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
JT-60SA มีบทบาทสำคัญในการทดสอบโครงการ ITER
โดยใช้ไฮโดรเจนและไอโซโทปของไฮโดรเจน ที่เรียกว่า ดิวเทอเรียม ทำการทดลองความเสถียรของพลาสมาและผลกระทบต่อการผลิตพลังงาน แซม เดวิส (Sam Davis) รองหัวหน้าโครงการได้ระบุว่า JT-60SA จะช่วยนำพวกเราเข้าใกล้พลังงานฟิวชัน
แมตเตโอ บาร์บาริโน (Matteo Barbarino) ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ฟิวชันจากทบวงการพลังงานประมาณระหว่างประเทศ (IAEA) องค์กรภายใต้สหประชาชาติ ได้ชี้ว่าพลังงานฟิวชันจะมีประโยชน์ต่อทุกประเทศและอยู่เคียงคู่กับพลังงานนิวเคลียร์ หรือพลังงานที่ยั่งยืนประเภทอื่นๆ ทั้งยังลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลกด้วย ตัวเลขของ IAEA เผยว่าปัจจุบันมีเตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมกอยู่ราว 50 ตัวทั่วโลก
แหล่งที่มา : https://news.trueid.net/detail/AlekJLYvxAK8